tirisulayoga.com

ปราณยามะ (6) ประโยชน์ของปราณยามะ

ปราณยามะ (6) ประโยชน์ของปราณยามะ

ปราณยามะ ไม่ใช่การฝึกเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย แต่เป็นการทำให้หายใจช้าลง หายใจน้อยลง จึงอาจมีคนสงสัยว่า ถ้าไม่ใช่เพื่อออกซิเจน งั้นเราจะฝึกปราณยามะไปทำไม หรือเราได้ประโยชน์อะไรจากการฝึก ตำรา Pranyama เขียนโดย สวามีกุลวัลยนันท์ ของสถาบัน ไกวัลยธรรม อธิบายไว้ว่า ประโยชน์ทางด้านกายภาพที่ได้จากการฝึกควบคุมลมหายใจ คือ เพิ่มความยืดหยุ่นของปอด และพัฒนากล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ให้มีความแข็งแรง ไม่เพียงเท่านั้น ตำรายังได้อธิบายประโยชน์ของปราณยามะต่อร่างกายในระบบอื่นๆ ได้แก่


1. ระบบขับถ่าย
– เป็นการนวดไต (ปัสสาวะ)
– เป็นการนวดลำไส้ (อุจจาระ) คล้ายอาการท้องผูก
– เสริมประสาทที่กระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องในการขับถ่าย

2. ระบบย่อยอาหาร
– เป็นการนวดกระเพาะ
– นวดคลายปัญหาของระบบ เช่น ความผิดปกติของกรดในกระเพาะ gastric disorder
– เป็นการนวดตับอ่อน
– เป็นการนวดตับ

3. ระบบหัวใจ
– ช่วยนวดหัวใจให้แข็งแรง
– ทำให้เลือดไหลเวียน หล่อเลี้ยงได้เพิ่มขึ้น

4. ระบบต่อมไร้ท่อ
เมื่อเลือดไหลเวียนดีขึ้น ระบบต่อมไร้ท่อก็จะสามารถทำงานได้ดีขึ้นตามไปด้วย

5. ระบบประสาท
– ปราณยามะช่วยให้รากของ spinal nerve แข็งแรง
– ปราณยามะช่วยพัฒนาประสาท sympathetic

6. จิตวิทยา
เมื่อระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาทดี ก็ย่อมส่งผลให้จิดและอารมณ์ดีขึ้น

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการฝึกปราณยามะเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของกล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งส่งผลทางด้านการกดนวด อวัยวะต่างๆภายใน ทั้งช่องทรวงอกและช่องท้อง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย การฝึกปราณยามะตอนเช้าเพียง 10 นาที จะส่งผลดีต่อสุขภาพไปตลอดทั้งวัน ตำราถึงกับสรุปว่า การฝึกปราณยามะนั้น ให้ประโยชน์กว่าการออกกำลังกายอื่นๆ ถึงร้อยเท่าทีเดียว